เพิ่มการเผาผลาญขณะออกกำลังกาย

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ เพิ่มการเผาผลาญขณะออกกำลังกาย

เพิ่มการเผาผลาญขณะออกกำลังกาย



ร่างกายใช้พลังงานอยู่แล้วตลอดวันไม่ว่าจะเป็นการนั่งโต๊ะทำงาน การนั่งรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั้งในขณะนอนหลับ เหนือสิ่งอื่นใดก่อนที่เราจะเรียนรู้ว่าจะเพิ่มการเผาผลาญได้อย่างไร อย่างที่เราเห็นๆ บางคนที่โชคดีถึงออกกำลังกายน้อย กินได้ตามต้องการแต่ไม่อ้วน นั้นมาจาก คนเหล่านั้นอาจมีระดับการเผาผลาญสูงที่ติดตัวมาตามธรรมชาติ จึงทำให้ร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าคนทั่วไปในการใช้ชีวิตปรกติ  แต่สำหรับคนที่ไม่โชคดี เราจำเป็นจะต้องมองหาวิธีการเพิ่มระดับการเผาผลาญให้กับร่างกาย เพื่อรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงไว้ โดยมีวิธีการดังนี้

 

เพิ่มการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกาย

วิธีการที่ชัดเจนและเห็นผลได้ในการเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกายคือการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ (Cardio) เพื่อช่วยในการเผาผลาญไขมัน และ การออกกำลังกายแบบ เวทเทรนนิ่ง (weight training) เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และนี่จะเป็นตัวที่กระตุ้นระดับการเผาผลาญพลังงานของเรา

 

มือใหม่หัดเล่นเวทเทรนนิ่ง (weight training)

  1. หาคนช่วย  สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ๆควรได้รับการแนะนำการใช้เครื่องมือ และ ลักษณะท่าทางการเล่นที่ถูกต้องจากผู้เชียวชาญ  เสียก่อน ซึ่งตามสถานที่ออกกำลังกายมักมีบริการผู้ให้คำแนะนำอยู่แล้ว หรือถ้าหากคุณเล่นเองที่บ้าน แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูล และดูวิดีโอการสอนสำหรับผู้เริ่มต้นเสียก่อน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเพื่อให้การเล่นได้ผลตรงจุด

 

 

  1. เริ่มจากน้อยๆ เป้าหมายของการใช้แรงต้านส่งผลโดยตรงสู่กล้ามเนื้อ ไม่ควรทำให้ฉีกขาด ดังนั้น ควรเริ่มจากน้ำหนักน้อยๆที่เราสามารถยกได้อย่างสบายๆเสียก่อน เพื่อป้องการอาการบาดเจ็บและสามารถเพิ่มน้ำหนักขึ้นได้เล็กน้อย ถ้ารู้สึกว่าเบาเกินไป ทำท่าละ 12 ครั้ง 3-4 เซท โดยท่าที่ทำจะต้องสมบูรณ์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเล่นน้ำหนักเยอะๆเพื่อโชว์ใคร เอาเท่าที่เรายกได้แบบเน้นๆเป็นพอ

 

  1. ไปอย่างช้าๆ การยกน้ำหนักขึ้นลงแบบไวๆไม่ได้ผลกับกล้ามเนื้อมากนัก และอาจทำให้คุณบาดเจ็บได้ ใช้วิธีการยกแบบช้าๆเน้นๆ และรู้สึกในทุกๆการยืดและหดของกล้ามเนื้อ โดยการยกในแต่ละครั้งให้นับ 1-5 ช้าๆในใจ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกบริเวณกล้ามเนื้อ รู้สึกร้อน แต่ไม่รู้สึกเจ็บ ถ้ามีความรู้สึกเจ็บให้หยุดเล่นทันที

 

  1. เหนื่อยนักก็พักบ้าง คุณควรหาเวลาพัก 1 วันในขณะการฝึกแบบ เวทเทรนนิ่ง (weight training) เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเพิ่มพละกำลัง และสร้างเสริม ซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้คืนกลับมา

 

        การออกกำลังกายแบบการ คาร์ดิโอ (Cardio) สามารถทำได้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดิน , วิ่งบนลู่วิ่ง การเล่นกีฬาต่างๆ หรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวใจเต้นต่อเนื่องกัน 30 นาทีต่อวัน ส่วนการออกกำลังกายแบบ เวทเทรนนิ่ง (weight training) จะต้องมีการวางแผนการเล่น การเล่นก็สามารถวางแผนให้ออกกำลังแต่ละแต่ละส่วนของกล้ามเนื้อในร่างกายกระจายกันไป ซึ่งสามารถขอคำแนะนำจากเทรนเนอร์ประจำฟิตเนสที่พร้อมให้บริการด้วยความเป็นมิตรตลอด 24 ชม. ให้ “FIT24” เป็นคู่มือให้คุณและติดตามข่าวสาร บทความดีๆ เทคนิคต่างๆ ที่นี่เลย นะคะ

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก heartmonitors



บทความที่น่าสนใจ

5 เคล็ดลับ วิ่งลู่ไฟฟ้าอย่างไรไม่ให้เบื่อ
การเลือก สปอร์ตบรา สำหรับใส่ ออกกำลังกาย