ยิ่งไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ยิ่งสร้าง ฮอร์โมน แห่งความสุข

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ ยิ่งไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ยิ่งสร้าง ฮอร์โมน แห่งความสุข

ยิ่งไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ยิ่งสร้าง ฮอร์โมน แห่งความสุข



หลาย ๆ คน ก็คงทราบกันดีอยู่แล้ว ว่า ฟิตเนส นั้นช่วยให้มีสุขภาพดี แต่ทราบไหมว่า ยิ่งไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ยิ่งสร้าง ฮอร์โมน แห่งความสุข ร่างกายก็สุขตามไปด้วย

 

ฮอร์โมน เป็นสารเคมี ในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายของเรา ได้สร้างขึ้นมา เพื่อสื่อสาร และทำหน้าที่ร่วมกัน กับอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ร่างกายของเรา สามารถทำงานได้ อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางเพศ ระดับพลังงาน สุขภาพสมอง 

 

ความสมดุล ของฮอร์โมน ในร่างกายนั้น ควรมีอย่างเหมาะสม แต่หากมีมากไป หรือน้อยไป ก็ไม่เกิดผลดี ต่อร่างกาย แล้วเราจะควบคุมได้อย่างไร ? บางครั้ง เรามักจะ นอนไม่ค่อยหลับ เครียดบ่อย ๆ ปวดหัว ปวดไมเกรนบ่อย เหล่านี้ เคยสังเกตอาการไหมคะ ว่าอาจมีสาเหตุ มาจากฮอร์โมน ในร่างกายก็เป็นได้ วันนี้ เราจะมารู้จัก ฮอร์โมน แห่งความสุข ที่สามารถสร้างได้ง่าย ๆ เพียงแค่เรา ออกกำลังกาย เป็นปกติ และสม่ำเสมอค่ะ

 

กลุ่มฮอร์โมน แห่งความสุข จากการไป ฟิตเนส ( Fitness )

 

1. เอ็นโดรฟิน ( Endorphin )

เป็นฮอร์โมน ที่หลั่งออกมา จากใต้สมอง ที่รู้จักกันใน ชื่อ ‘สารสุข’ เปรียบเสมือน มอร์ฟีนธรรมชาติ ที่ร่างกายหลั่งขึ้นมา ก็ต่อเมื่อมนุษย์ มีความสุข ความพึงพอใจ ผ่อนคลาย และหลั่ง เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ในแง่บวก เมื่ออยู่ในภาวะ เครียด ฮอร์โมนชนิดนี้ ก็จะลดลง

 

วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน

- ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ หรือให้ความสนใจ

- ออกกำลังกาย ให้ได้ประมาณ 20 นาที ขึ้นไป เพื่อกระตุ้น ในการหลั่งของเอ็นโดรฟิน

- ทำสมาธิ เดินจงกรม ทำให้จิตใจสงบ

- การมีเพศสัมพันธ์ที่ถึง จุดสุดยอด

 

 

 

2. โดพามีน ( Dopamine )

เป็นฮอร์โมน ที่เกี่ยวกับ ความพึงพอใจ ความรักใคร่ และยินดี เป็นสารที่จะหลั่งออกจากสมอง กับเซลล์ประสาท ภายในร่างกาย โดย โดพามีน จะเกี่ยวเนื่องกับ ระบบประสาทหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของ ระบบประสาทสมอง รวมทั้ง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ หาก โดพามีน ภายในร่างกายของเรา นั้นต่ำเกินไป จะทำให้มีความรู้สึก หดหู่ใจ และซึมเศร้าได้ โดยซึ่งนับว่าเป็น โรคทางจิตเวช อย่างหนึ่ง ยาที่รักษา เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชในปัจจุบัน จึงได้มีการพัฒนา เอาโดพามีน มาใช้ในการรักษา และยังพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุ นั้น ถ้าหากมีโดพามีนต่ำเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เพราะว่า ฮอร์โมน ที่ลดลง จนไปทำให้ระบบการทำงาน ของประสาท รวมทั้ง กล้ามเนื้อนั้นไม่สัมพันธ์กัน ทำให้มีการสั่น และไม่สามารถก้าวขาได้

 

วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน

- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 20 นาที ขึ้น

- รับประทานอาหาร ที่มีส่วนผสมของ กรดอะมิโน และโปรตีน อย่างเพียงพอ นั่นเพราะ โดพามีน สังเคราะห์มาจาก กรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า Tyrosine ซึ่งจะได้จาก อาหารประเภทที่มีโปรตีน ที่เราทาน อยู่ทุก ๆ วัน อาทิ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ฯลฯ

 

 

 

3. เซโรโทนิน ( Serotonin )

เป็นสาร ที่ต้านความเครียด ที่หลั่งจากสมอง และหลั่งจาก ทางเดินอาหาร ที่มีผลกับการทำงาน ของกล้ามเนื้อ อารมณ์ พฤติกรรม และการนอนหลับ ถ้าระดับฮอร์โมน ต่ำเกินไป จะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าได้

 

วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการหลั่ง ของฮอร์โมน

- ทานอาหาร ที่มีโปรตีน เพราะ เซโรโทนิน สร้างมาจาก ทริปโตเฟน ( Tryptophan ) ซึ่งเป็น กรดอะมิโนเอซิต ตัวหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนได้

 

4. ออกซิโทซิน ( Oxytocin )

ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนหลัก ที่ช่วยให้เราสร้าง และช่วยรักษาความสัมพันธ์ กับคนอื่น ๆ มีความมั่นใจในตัวเอง รวมทั้ง ความเชื่อใจ ช่วยให้มองโลกในแง่ดี ฮอร์โมนนี้ จะสร้างความผูกพัน กับคนที่เรารัก โดยเฉพาะ เวลากอด และการสัมผัสกัน รวมไปถึง การมีเพศสัมพันธ์ ฮอร์โมนนี้ ก็จะหลั่งออกมา ทำให้เกิดความเชื่อใจ และมีความรู้สึกปลอดภัย เมื่อได้สัมผัสความอบอุ่น จากคนที่เรารัก นั่นเอง

 

วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน

- การออกกำลังกายทุกชนิด จะช่วยให้อารมณ์ของเราดีขึ้น

- การกอด หรือการจับมือ รวมไปถึง การมีเพศสัมพันธ์

 

 

เห็นไหมคะ ว่า ยิ่งไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ยิ่งสร้าง ฮอร์โมน แห่งความสุข และร่างกายก็แข็งแรงมากขึ้นด้วย

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข้อห้าม การเข้าใช้ ฟิตเนส ที่ส่งผลให้ หุ่นไม่เฟิร์ม

อุปกรณ์ ใน ฟิตเนส ช่วย ลดไขมัน

 



บทความที่น่าสนใจ

ออกกำลังกายที่ฟิตเนส แบบผิดวิธี ส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างไร
เครื่องเล่น ออกกำลังกาย แบบคาร์ดิโอ ใน ฟิตเนส